วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553

โรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออก

(Denque Fever/ Denque Hemorrhaqic Fever)

              

                ไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง พบมากในฤดูฝนเพราะมียุงเพิ่มมากขึ้น   ทำให้มีไข้ร่วมกับมีเลือดออกตามจุดต่างๆ ของร่างกาย โรคนี้เกิดขึ้นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่



                หลังจากถูกยุงลายกัดประมาณกี่วันจึงจะแสดงอาการของไข้เลือดออก?

                ยุงลายที่เป็นพาหะของโรค จะเป็นยุงที่อาศัยอยู่ภายในบ้านและรอบๆ บ้าน ดูดกินเลือดคนเป็นอาหารและกัดเฉพาะเวลากลางวันประมาณ 4 – 6 วัน หลังจากถูกกัด อาการของโรคจะปรากฏให้เห็น   บางรายอาจเร็วหรือ    ช้ากว่านี้   เร็วที่สุด 3 วัน   ช้าที่สุด 14 วัน



                จะทราบได้อย่างไร ว่าเป็นไข้เลือดออก?      

1.       มีไข้แต่อาการไม่รุนแรง ลักษณะไข้สูงแบบเฉียบพลัน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีผื่นขึ้นตามตัว สามารถมองเห็นได้

2.       มีไข้สูงและมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วยดังนี้

2.1.   ระยะไข้: ไข้สูง 39 c – 40 c บางรายอาจถึงชักได้ ไข้ลอยอยู่ 2 – 7 วัน หน้าจะแดง   และตาอาจจะแดงด้วย   ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการน้ำมูกไหลหรือไอ มีส่วนน้อยที่มีอาการไอแบบไม่มีเสมหะ

2.2.   ระยะเลือดออก:   จะพบในวันที่ 3 – 4 ของโรค  ไข้จะลดลง ตัวเย็น ผื่นขึ้น ผู้ป่วยจะซึมลง อาจมีอาการเลือดกำเดาไหล    เลือดออกตามไรฟัน ท้องอืด  ตับโต  เบื่ออาหาร  อาจมีเลือดออกในทางเดินอาหาร   ซึ่งผู้ป่วยจะอาเจียนเป็นเลือดเก่าๆ หรือถ่ายอุจจาระสีดำ อาการอาจรุนแรงถึงช็อก หมดสติ

2.3.     ระยะพักฟื้น:   จะฟื้นไข้เร็ว และจะหายภายใน   2 – 3 วัน     รวมระยะเวลาของโรคประมาณ      7 -10 วัน




การดูแลผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออก

              

                ผู้ป่วยอาจไม่จำเป็นต้องอยู่โรงพยาบาลทุกรายโดยเฉพาะในระยะแรก ขณะนี้ยังไม่มียาต้านไวรัสชนิดนี้ การรักษาเป็นแบบตามอาการและประคับประคอง โดยปฏิบัติดังนี้

1.     ระยะที่มีไข้สูงควรเช็ดตัวลดไข้ ในรายที่เคยมีประวัติชัก  หรือปวดศีรษะและปวดเมื่อยตามตัว  อาจจำเป็นต้องให้ยาลดไข้ โดยใช้ยาพาราเซตาเธกเธญเธฅ  ไม่ควรใช้ยาแอสไพริน  หรือไอบูโพรเฟน   เพราะจะทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น

2.     ให้น้ำชดเชย เพราะผู้ป่วยอาจมีภาวะขาดน้ำ  เนื่องจากมีไข้สูง เบื่ออาหารและอาเจียน ควรให้ดื่มน้ำผลไม้ หรือน้ำเกลือแร่  ในรายที่อาเจียน  ควรให้ดื่มครั้งละน้อยๆ  และดื่มน้ำบ่อยๆ

3.     ติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด   ควรมาพบแพทย์เป็นระยะๆ   เพื่อตรวจดูระดับของความเข้มข้นเลือดและเกล็ดเลือด  ถ้าเกล็ดเลือดต่ำ  เลือดจะออกง่าย   ทำให้มีเลือดออกตามจุดต่างๆ  ของร่ายกาย   ระยะที่เกิดอาการช็อกส่วนใหญ่จะประมาณวันที่ 3 ของโรค (เวลาที่เกิดอาการช็อกแตกต่างกันไปแล้วแต่ระยะเวลาของไข้)    อาการนำของช็อกได้แก่ ปวดท้อง อาเจียน/  ถ่ายเป็นเลือด  ปัสสาวะน้อยลง มีอาการกระสับกระส่าย   มือเท้าเย็น  พร้อมๆกับไข้ลดลง    ถ้าพบอาการเหล่านี้ ให้รีบนำส่งโรงพยาบาล แต่หากเป็นชนิดที่ไม่รุนแรงอาการจะดีขึ้นในเวลา   5 – 7 วัน

4.     ผู้ป่วยอาจยังมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำกว่าระดับปกติ แม้ว่าอาการจะดีขึ้น และออกจากโรงพยาบาลแล้วก็ตาม จึงควรหลีกเลี่ยงการกระทบกระแทกอย่างรุนแรงต่อไปอีก 3 – 5 วัน

5.       หากผู้ป่วยมีอาการปกติ    สามารถไปโรงเรียนหรือทำงานได้

6.       ถ้าคนในบ้านมีไข้สูงควรพามาพบแพทย์ เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับเชื้อไวรัสเช่นเดียวกับผู้ป่วย
จะป้องกันไม่ให้เป็นโรคนี้ได้อย่างไร

การป้องกันทำได้ 2 วิธี คือ

1.     ป้องกันไม่ให้ถูกยุงลายกัด   ซึ่งยุงลายนี้จะกัดในเวลากลางวัน ควรนอนในมุ้งหรือติดมุ้งลวดป้องกันยุงเข้ามาในบ้าน หลีกเลี่ยงการอยู่บริเวณมุมอับชื้น   ทายากันยุงที่สกัดจากพืชธรรมชาติ

2.     กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้หมดไป     ยุงลายจะเพาะพันธุ์ในน้ำใส ดังนั้นส่วนใหญ่สถานที่เพาะพันธุ์ยุงลาย จะเป็นภาชนะที่เก็บน้ำใช้ในบ้าน เช่น โอ่งน้ำ ถ้วย รองขาตู้กันมด  แจกันดอกไม้  ภาชนะนอกบ้านที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายกระทำได้โดย

·       ภาชนะที่ใช้เก็บน้ำต้องมีฝาปิด

·       ใช้ทรายอะเบทใส่ในภาชนะขังน้ำไว้ใช้เพื่อทำลายไข่ยุง (ซึ่งสามารถรับได้ที่สถานีอนามัย)

·       ทำลายภาชนะที่ไม่จำเป็น เพราะอาจมีน้ำขังได้

·       พ่นละอองยา ทำลายยุงลาย





โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่ต้องควบคุม โดยสถานพยาบาลทุกแห่งจะรายงานการพบโรคให้กองควบคุมโรคติดต่อ   กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการควบคุมโรค  ด้วยการพ่นสารเคมี  เพื่อกำจัดยุงลายตัวแก่ ซึ่งจะดำเนินการให้หลังจากได้รับแจ้งจากสถานพยาบาลว่า  มีผู้ป่วยบริเวณนั้น หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย สามารถสอบถามได้ที่

กองควบคุมโรคติดต่อ โทร. 0 โ€“ 2245 - 8106